แผนที่ศูนย์

Snoring : นอนกรน

รายละเอียดของโรคนอนกรน 

โรคนอนกรน เป็นโรคที่พบบ่อยมาก และเกิดขึ้นได้ทุกเพศ ทุกวัย  ตั้งแต่เด็ก จนถึงผู้สูงอายุ  เป็นอาการที่บ่งบอกว่า กำลังมีการตีบแคบของทางเดินหายใจส่วนต้น อาจทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้หากเกิด ภาวะหยุดหายใจขณะหลับชนิดอุดกั้น (Obstructive Sleep Apnea, OSA) และ ทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพได้หลายอย่าง เช่น เป็นสาเหตุและความเสี่ยงของ โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือด หัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง หรือ อัมพฤกษ์และอัมพาต ภาวะซึมเศร้าเรื้อรัง การเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ความเสี่ยงต่ออุบัติเหตุอันเนื่องมาจากความง่วงนอนมากผิดปรกติ หากเกิดใน เด็กจะส่งผลต่อพัฒนาการเติบโตและการเรียนรู้ หรือ อาจก่อให้เกิดความรำคาญอย่างมาก ต่อผู้นอนร่วมห้อง เกิดเป็นปัญหาทางครอบครัว















สาเหตุของการนอนกรน เกิดได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้

1. เกิดจากการหย่อนตัวของกล้ามเนื้อทางเดินหายใจส่วนบน เช่น กล้ามเนื้อบริเวณเพดานอ่อน ลิ้นไก่ ผนังคอหอย หรือโคนลิ้น ทำให้เกิดการสั่นสะเทือนและสะบัดของกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่ออ่อนในบริเวณ นั้นเกิดเป็นเสียงกรนขึ้นขณะนอนหลับ

2. เกิดจากเนื้องอกหรือซีสต์ (Cyst) ในทางเดินหายใจส่วนบน หรือการที่มีโพรงจมูกอุดตันจากหลายสาเหตุ เช่น อาการคัดจมูกจากโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ ผนังกั้นช่องจมูกคด เนื้องอกในโพรงจมูกและหรือโพรงอากาศข้างจมูก ริดสีดวงจมูก ไซนัสอักเสบ เป็นสาเหตุที่ให้เกิดอาการนอนกรนได้เช่นกัน

3. เกิดจากการอุดกั้นทางเดินหายใจส่วนบนจากต่อมทอนซิลและต่อมอดีนอยด์ที่โต ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการนอนกรนที่สำคัญในเด็ก


วิธีการรักษาด้วยการกวาซา

เป็นการรักษาแบบบูรณาการ โดยนำความรู้ ทางด้านกายวิภาค ร่วมกับการรักษาด้วยการกวาซา  (Medical Massage & Detoxification)  เพื่อ ฟื้นฟูกล้ามเนื้อบริเวณทางเดินหายใจให้แข็งแรง ไม่หย่อนตัว และกระตุ้นเส้นเลือดให้เกิดการ ขยายตัวและหมุนเวียนเลือดและออ๊กซิเจนให้ไปเลี้ยงส่วนต่างๆได้ดีขึ้น ผู้ป่วยจะรู้สึกได้ทันทีว่าหายใจโล่งขึ้น เบาตัวขึ้น หลับสนิท และมีอาการกรนลดลงตั้งแต่ในครั้งแรกที่รักษา

"กวาชา" คืออะไร 

กวาซา เป็นการขูดผิวหนังเพื่อกระตุ้นระบบหมุนเวียนโลหิต และช่วยจัดเรียงเส้นประสาทตามแนวกระดูกสันหลังและกล้ามเนื้อทั่วร่างกาย อีกทั้งยังส่งเสริมการไหลเวียนของเลือดลมภายในร่างกาย ซึ่งโดยส่วนมากจะพบว่าเมื่อได้รับการกวาซาแล้ว จะสามารถเห็นผลตั้งแต่ครั้งแรกว่าอาการจะดีขึ้น แต่หากเป็นเรื้อรังมานาน ควรต้องได้รับการกวาซาอย่างน้อย 5-12ครั้งขึ้นไป จึงจะหายขาด และควรได้รับการกวาซาอย่าต่อเนื่องอย่างน้อยเดือนละครั้ง เพื่อกระตุ้นระบบเมตาบอลิซึ่มและฟื้นฟูกล้ามเนื้อ ระบบการหายใจและระบบต่างๆของร่างกายให้เป็นปกติ

ประโยชน์ของการรักษาด้วยวิธีการกวาซา

- แก้อาการภูมิแพ้ หอบหืด ไอเรื้อรัง
- ฟื้นฟูกล้ามเนื้อบริเวณลำคอและฟื้นฟูระบบทางเดินหายใจ
- ช่วยกระตุ้นระบบหมุนเวียนโลหิตและระบบเลือดลมให้ดีขึ้น
- กระตุ้นการทำงานของเม็ดเลือดแดง ให้ทำงานได้ดีขึ้น แก้อาการโหลิตจาง
- แก้อาการปวดหลัง ต้นคอ บ่า ไหล่ (Office Syndrome) และอาการปวดตึงกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ของร่างกาย
- แก้อาการพังพืดเกาะตามร่างกายโดยไม่ต้องผ่าตัด
- แก้อาการปวดศรีษะเรื้อรัง (ไมเกรน)
- ช่วยบำบัดอาการของโรคต่าง ๆให้ดีขึ้น
- สามารถบอกตำแหน่งของโรคที่เกิดขึ้น
- ช่วยลดโอกาสการเกิดโรคต่างๆ
- ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการรักษา


ระยะเวลาการรักษา

ผู้ป่วยควรมารักษาต่อเนื่องติดต่อกัน สัปดาห์ละครั้ง  เป็นเวลา 5ครั้งต่อเนื่องในช่วงแรก ขึ้นอยู่กับสุขภาพและการฟื้นตัวของร่างกาย ร่วมกับการปรับ พฤติกรรมให้ถูกต้อง บางท่านร่างกายฟื้นตัวดีและขับพิษได้เร็ว ก็จะใช้เวลา ไม่เกิน5-12ครั้ง หลังจากนั้นเว้นทุก 2-3 สัปดาห์ เพื่อกระตุ้นให้ระบบการ ไหลเวียนเลือด และกล้ามเนื้อแข็งแรงตามปกติ โดยทั้งนี้ผู้ป่วยต้องปรับ พฤติกรรมการทานอาหารและการทำงานควบคู่กันไปด้วย เพื่อไม่ให้กลับมาเกิดโรค นี้ซ้ำอีก


คำอธิบายจากภาพ

yasiri 002
เมื่อกวาซาจะพบว่าบริเวณรอบลำคอของผู้ ป่วย จะมีสีแดงเข้มซึ่งเป็นสีของพิษที่่ถูกขับออกมาทันที  สาเหตุเกิดจากกล้ามเนื้อภายในไม่แข็งแรง ส่งผลให้ระบบทางเดินหายใจผิดปกติ เลือดไม่สามารถไหลเวียนได้ สะดวก ส่งผลให้เม็ดเลือดแดงที่หมดอายุไม่สามารถส่งไปกำจัดทิ้งที่ตับและม้าม ได้ตามปกติ จึงตกค้างอยู่ในกล้ามเนื้อและอวัยวะภายใน ก่อให้เกิดอาการปวดเมื่อยล้าเรื้อรัง นอนหลับไม่สนิท และเป็นโรคแพ้อากาศ-ไซนัส และเมื่อได้รับการกวาซาจะช่วยกระตุ้น ให้กล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้นและช่วยกระตุ้นให้ร่างกายขับพิษออกทางผิวหนัง (ไม่ ใช่ รอยช้ำ หรือรอยฉลอกของผิวหนังแต่เป็นสีแดงเข้มของเม็ดเลือดแดงที่หมดอายุ) ซึ่งรอย นี้จะจางหายไปในเวลา3-7วัน หากได้รับการกวาซาอย่างต่อเนื่อง  พิษที่ถูกขับออกมาจะลดน้อยลงเรื่อยๆ สีแดงเข้มของพิษเริ่มน้อยลง อาการ นอนกรน และระบบทางเดินหายใจจะดีขึ้นเรื่อยๆ จนกลับมาสู่ปกติ







No comments: