การนั่งทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ๆ ไม่ได้มีการขยับตัวไปไหนมาไหน เป็นแรมเดือนหรือเป็นปี จะส่งผลต่อสุขภาพ กายและสุขภาพจิตได้ โดยเฉพาะทางร่างกาย คืออาการปวดต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นปวดไหล่ ปวดคอ ปวดหลัง ปวดสะบัก ปวดหัว ปวดข้อมือ ชามือ ชาเท้า สายตาเมื่อยล้า ปวดกระบอกตา ตลอดจน เมื่อยล้าเรื้อรัง
ซึ่งแน่นอนว่าหนุ่มสาวทำงานออฟฟิศหลายคน รู้จักอาการเหล่านี้ดี และนี่แหละคืออาการสำคัญที่เป็นสาเหตุของ Office Syndrome
การปวด ไม่ใช่เป็นเพียงแค่ปวดกล้ามเนื้ออย่าง ไหล่ สะบัก หรือคออย่างเดียวเท่านั้น การนั่งนาน ๆ กระดูกสันหลังมีการกดทับเส้นประสาท หากเป็นนาน ๆ ก็ส่งผลให้เกิดการปวดหลังเรื้อรังได้ และอาจทำให้กระดูกสันหลังคดด้วย
เมื่อต้นปี2555 ผู้เขียนได้ทดลองทำpromotion รักษาOffice Syndrome ด้วยการกวาซา ปรากฎว่ามีผู้ป่วยมารักษาโรคนี้ถึงกว่า300กว่าราย ส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงวัยทำงาน อายุตั้งแต่ 23-60 ปีเลยทีเดียว ปัญหาส่วนใหญ่เกืดจากพฤติกรรมการทำงานที่ไม่เหมาะสมแทบทั้งสิ้น ผู้ป่วยให้การตอบรับกับผลการรักษาด้วยกวาซาดีมาก เพราะเห็นผลเร็วและค่าใช้จ่ายไม่สูงมากนัก
วิธีการรักษาด้วยการกวาซา
เป็นการรักษาแบบบูรณาการ โดยนำความรู้ทางด้านกายวิภาค ร่วมกับการนวดรักษา (Medical Massage) ด้วยการกวาซา เพื่อคลายกล้ามเนื้อที่หดเกร็งให้เกิดการคลายตัวและกระตุ้นเส้นเลือดให้เกิดการขยายตัวและหมุนเวียนเลือดไปเลี้ยงแผ่นหลัง ศีรษะ คอ บ่า ไหล่ ได้ตามปกติ ผู้ป่วยจะรู้สึกได้ทันทีว่าโล่งตัวขึ้นทันที
จากภาพซ้าย: เมื่อกวาซาจะพบว่าแผ่นหลังของผู้ป่วย จะมีสีแดงเข้มของพิษที่่ถูกขับออกมาทันที
จากภาพขวา: เมื่อกวาซาครั้งที่2 พิษที่ถูกขับออกมาจะลดน้อยลงเรื่อยๆ สีแดงเข้มของพิษเริ่มน้อยลง
อาการปวดหลังจะดีขึ้นเรื่อยๆ จนกลับมาสู่ปกติ
อาการปวดหลังจะดีขึ้นเรื่อยๆ จนกลับมาสู่ปกติ
คำอธิบาย
เมื่อกล้ามเนื้อเกิดการเกร็งตัว จะส่งผลให้เลือดไม่สามารถไหลเวียนได้สะดวก ส่งผลให้เม็ดเลือดแดงที่หมดอายุไม่สามารถส่งไปกำจัดทิ้งที่ตับและม้ามได้ตามปกติ จึงตกค้างอยู่ในกล้ามเนื้อเมื่อผสมกับกรดแลคติก จึงก่อให้เกิดอาการปวดเมื่อยล้าเรื้อรัง และเมื่อได้รับการกวาซาจะช่วยกระตุ้นให้กล้ามเนื้อคลายตัวและช่วยกระตุ้นให้ร่างกายขับพิษออกทางผิวหนังเป็นสีแดงเข้มของเม็ดเลือดแดงที่หมดอายุ ไม่ใช่รอยช้ำ หรือรอยฉลอกของผิวหนังทั้งสิ้น อายุ ซึ่งรอยนี้จะจางหายไปในเวลา1-5วัน
เมื่อกล้ามเนื้อเกิดการเกร็งตัว จะส่งผลให้เลือดไม่สามารถไหลเวียนได้สะดวก ส่งผลให้เม็ดเลือดแดงที่หมดอายุไม่สามารถส่งไปกำจัดทิ้งที่ตับและม้ามได้ตามปกติ จึงตกค้างอยู่ในกล้ามเนื้อเมื่อผสมกับกรดแลคติก จึงก่อให้เกิดอาการปวดเมื่อยล้าเรื้อรัง และเมื่อได้รับการกวาซาจะช่วยกระตุ้นให้กล้ามเนื้อคลายตัวและช่วยกระตุ้นให้ร่างกายขับพิษออกทางผิวหนังเป็นสีแดงเข้มของเม็ดเลือดแดงที่หมดอายุ ไม่ใช่รอยช้ำ หรือรอยฉลอกของผิวหนังทั้งสิ้น อายุ ซึ่งรอยนี้จะจางหายไปในเวลา1-5วัน
ระยะการรักษาการรักษา
ผู้ป่วยควรมารักษาต่อเนื่องติดต่อกันสัปดาห์ละครั้ง ขึ้นเป็นเวลา 5-12 ครั้ง ขึ้นอยู่กับสภาพของร่ายกาย บางท่านร่างกายฟื้นตัวดีและขับพิษได้เร็ว ก็จะใช้เวลาไม่เกิน5ครั้ง หลังจากนั้นเว้นทุก 2 สัปดาห์ เพื่อกระตุ้นให้ระบบการไหลเวียนเลือด และกล้ามเนื้อแข็งแรงตามปกติ โดยทั้งนี้ผู้ป่วยต้องปรับพฤติกรรมการทำงานควบคู่กันไปด้วย เพื่อไม่ให้กลับมาเกิดโรคนี้ซ้ำอีก
พฤติกรรมที่ควรปรับปรุง เพื่อป้องกันการเกิดโรค Office Syndrome
1.การนั่งไขว่ห้าง น้ำหนักตัวจะถูกกดทับลงข้างใดข้างหนึ่ง เมื่อกดทับเป็นเวลานาน สามารถทำให้กระดูกสันหลังเราคดได้
2.การนั่งกอดอก จะทำให้หลังช่วงบน สะบัก และหัวไหล่ ถูกยืดยาวออก หลังช่วงบนค่อมและงุ้มไปด้านหน้า ทำให้กระดูกคอยื่นไปด้านหน้า มีผล ต่อเส้นประสาทที่ไปเลี้ยงแขน อาจทำให้มืออ่อนแรงและชาได้
3.การนั่งหลังงอ หลังค่อม เช่น การนั่งอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์นาน ๆ เป็นชั่วโมง ๆ จะทำให้กล้ามเนื้อเกร็งค้าง เกิดการคั่งของกรดแลคติค มีอาการ เมื่อยล้า ปวด และมีปัญหาเรื่องกระดูกผิดรูปตามมา
4.การนั่งเบาะเก้าอี้ไม่เต็มก้น จะทำให้กล้ามเนื้อหลังทำงานหนัก เพราะฐานในการรับน้ำหนักตัวในสมดุล
5.การยืนพักลงน้ำหนักด้วยขาข้างเดียว การยืนที่ถูกต้อง ควรลงน้ำหนักที่ขาทั้ง 2 ข้างให้เท่ากัน โดยให้ขายืนกว้างกว่าสะโพก จึงจะทำให้เกิดความ สมดุลของโครงสร้างร่างกาย6.การยืนแอ่นพุง/หลังค่อม ควรยืนหลังตรง แขม่วท้องเล็กน้อย เพื่อเป็นการรักษาแนวกระดูกช่วงล่างไม่ให้แอ่น และไม่ทำให้ปวดหลัง
7.การใส่ส้นสูงเกินนิ้วครึ่ง จะทำให้กระดูกสันหลังช่วงล่างแอ่นมากกว่าปกติ ซึ่งนำมาสู่อาการปวดหลังได้
8.การสะพายกระเป๋าหนักข้างเดียว ไม่ควรสะพายกระเป๋าหนักข้างใดข้างหนึ่งเป็นเวลานาน ควรเปลี่ยนเป็นการถือกระเป๋า โดยใช้ร่างกายทั้งสองข้าง ให้เท่า ๆ กัน อย่าใช้แค่ข้างใดข้างหนึ่งตลอด เพราะจะทำให้เกิดการทำงานหนักอยู่ข้างเดียว ส่งผลให้กระดูกสันหลังคดได้
9.การหิ้วของหนัก ๆ ด้วยนิ้วบ่อย ๆ จะมีผลทำให้เกิดพังผืดยึดตามข้อนิ้วมือ ทำให้เกิดอาการนิ้วล็อคได้
10.การขดตัว หรือนอนตัวเอียง ท่านอนหงายเป็นท่าที่ถูกต้องที่สุด ควรนอนให้ศีรษะอยู่ในแนวระนาบ หมอนหนุนศีรษะต้องไม่แข็งหรือนิ่มเกินไป ควรมีหมอนรองใต้เข่า เพื่อลดความแอ่นของกระดูกสันหลังช่วงล้าง หากจำเป็นต้องนอนตะแคงให้หาหมอนข้างก่ายโดยให้ขาก่ายทั้งหมดอยู่บนหมอนข้าง เพื่อรักษาแนวกระดูกให้อยู่ในแนว ตรง
บทสรุป
Office Syndrome ไม่ใช่เรื่องไกลตัวเรา ตรงกันข้าม อาจเกิดกับเราได้ตลอดเวลา ดังนั้น เวลานั่งทำงาน อย่าเอาแต่นั่งทำงานอย่างเดียว เปลี่ยนอิริยาบถ ทุก ๆ ชั่วโมง หรือ 45 นาที หรือบริหาร ร่างกายขณะทำงานได้หลังจากเลิกทำงานตอนเย็น หาเวลาพักผ่อน ไปเดินผ่อนคลายที่สวน หรือออกกำลังกายก็ดี เพื่อให้กล้ามเนื้อต่าง ๆ ในร่างกาย ได้มีการเคลื่อนไหว จะได้ไม่ต้องทนทรมานกับ Office syndromeค่ะ
Office Syndrome ไม่ใช่เรื่องไกลตัวเรา ตรงกันข้าม อาจเกิดกับเราได้ตลอดเวลา ดังนั้น เวลานั่งทำงาน อย่าเอาแต่นั่งทำงานอย่างเดียว เปลี่ยนอิริยาบถ ทุก ๆ ชั่วโมง หรือ 45 นาที หรือบริหาร ร่างกายขณะทำงานได้หลังจากเลิกทำงานตอนเย็น หาเวลาพักผ่อน ไปเดินผ่อนคลายที่สวน หรือออกกำลังกายก็ดี เพื่อให้กล้ามเนื้อต่าง ๆ ในร่างกาย ได้มีการเคลื่อนไหว จะได้ไม่ต้องทนทรมานกับ Office syndromeค่ะ
No comments:
Post a Comment