แผนที่ศูนย์

ปวดหลัง (Back Pain)



                 ปัจจุบันอาการปวดหลัง เป็นโรคที่สามารถเกิดขึ้นได้กับคนในทุกเพศทุกวัย เนื่องจากพฤติกรรมของคนในปัจจุบันเปลี่ยนไปตามยุคสมัย สาเหตุของการปวดหลัง 80% เกิดจากพฤติกรรมการดำเนินชีวิตที่ไม่เหมาะสม เช่น การนอนเล่นเกมส์ในของคนวัยรุ่น การใส่รองเท้าส้นสูงเป็นเวลานานๆของคุณผู้หญิงการยกของหนักของคนคนงาน การนั่งทำงานทั้งวันของกลุ่มคนOfficer การออกกำลังกายอย่างหักโหม ของผู้เล่นกีฬา และเมื่อทำซ้ำๆต่อเนื่องก็ยิ่งสะสมทำให้เกิดปัญหาในที่สุด และอาการที่แสดงแตกต่างกันออกไป ตั้งแต่ ปวดหลังส่วนบน ปวดหลังส่วนล่างหรือเอว ปวดบริเวณกระแบนเหน็บหรือสะโพก ปวดเอวร้าวลงขา หรือปวดเอวและมีอาการชาร่วมด้วย เป็นต้น   
                 กระดูกสันหลังเป็นกระดูกแกนกลางของร่างกาย เป็นส่วนหนึ่งที่ต่อเนื่องมาจากศีรษะเป็นส่วนเชื่อมกับกระดูกไหปลาร้าและสะบัก เพื่อต่อเนื่องไปยังกระดูกแขนทั้งสองข้าง ส่วนล่างของกระดูกสันหลังเชื่อมกับกระดูกเชิงกราน เป็นข้อต่อสะโพกและกระดูกขาทั้ง 2 ข้าง ดังนั้นกระดูกสันหลังจึงเป็นแกนหลักในการรับน้ำหนักตัวส่วนบนของร่างกายผ่านมาสู่ขาทั้ง 2 ข้างและเป็นศูนย์รวมของเส้นประสาทต่างๆภายในร่างกาย
                                                             
                   
















กระดูกสันหลังแต่ละปล้องเชื่อมต่อกันด้วหมอนรองกระดูกและข้อต่อของตัวกระดูกสันหลัง ทำให้สามารถขยับเคลื่อนไหวได้ ในแกนกลางของโพรงกระดูกสันหลังเป็นที่อยู่ของไขประสาทสันหลัง ที่ต่อเนื่องมาจากสมองและแขนงเป็นรากประสาทสันหลังส่งไปเลี้ยง แขน ลำตัวและขา
นอกจากนี้ยังมีเส้นเอ็น และกล้ามเนื้อ หลายมัดและเนื้อเยื่ออ่อนยึดต่อเนื่องเป็นแผ่นหลัง

สาเหตุของอาการปวดหลัง – เอว ที่พบได้บ่อย
1.  การใช้กิริยาท่าทางต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันไม่ถูกต้อง
2.  ขาดการออกกำลังกายหรือมีการเคลื่อนไหวที่จำกัด
3.  ปัญหาที่ทำให้เกิดความตึงเครียด และความวิตกกังวลในชีวิต
4.  ความเสื่อมของกระดูกและข้อ จากวัยที่สูงขึ้น
5.  กลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อ
6.  ความผิดปกติของกระดูกสันหลังแต่กำเนิด เช่น หลังคด (Scoliosis) หลังแอ่น
7.  การได้รับอุบัติเหตุ เช่น ตกจากที่สูง
8.  หมอนรองกระดุกส่วนหลังหรือเอวทับเส้นประสาท

อาการปวดหลัง
                มีลักษณะแตกต่างกันออกไป ตั้งแต่ ปวดหลังส่วนบน หรือ ปวดสะบัก ปวดหลังส่วนล่างหรือเอว ปวดบริเวณกระแบนเหน็บหรือสะโพก หากเป็นมากอาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น ปวดหลังส่วนบนร้าวลงแขน ปวดสะบักร้าวลงแขน หรือมีอาการปวดคอ ปวดบ่า ไหล่ร่วมด้วย หรือปวดหลังร้าวลงขา ปวดเอวร้าวลงขา หรือปวดสะโพกร้าวลงขา หรืออาจจะมีอาการชาร่วมด้วย
หากมีอาการปวดหลัง ซึ่งเกิดได้จากหลายสาเหตุ ดังนั้นการรักษาที่ตรงจุดนั้น ต้องทราบก่อนว่า ต้นเหตุของอาการปวดหลังดังกล่าว มาจากอะไร โดยวิรดาคลินิกกายภาพบำบัด เราจะทำการซักประวัติและตรวจร่างกายเพื่อวิเคราะห์ปัญหาปวดหลังนั้น ซึ่งอาจจะมีสาเหตุดังนี้
1.  กล้ามเนื้ออักเสบเรื้อรัง อาจเกิดจาก กล้ามเนื้อคอ บ่า ไหล่ หลัง เป็นต้น
2.  กล้ามเนื้อสะโพกอักเสบเรื้อรัง จนบีบรัดเส้นประสาท
3.  ข้อต่อกระดูกสันหลังอักเสบเรื้อรัง
4.  ข้อต่อกระดูกกระเบนเหน็บอักเสบ
5.  หมอนรองกระดูกเสื่อม หรือกระดูกเสื่อม
6.  หลังคด หรือหลังค่อม
7.  หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

การรักษาอาการปวดหลังเบื้องต้น โดยวิธีทางการกวาซา

                  ควรต้องได้รับการกวาซาทั้งตัว 2ชั่วโมง เนื่องจากหลังเป็นศูนย์รวมของเส้นประสาทต่างๆภายในร่างกาย ดังนั้นเมื่อหลังมีปัญหาจะส่งผลกระทบกับอวัยวะต่างๆของร่างกาย เช่นอาจมีอาการปวดแขน-ชามือร่วมด้วย หรือมีอาการปวดเอว-ปวดร้าวลงขา จึงจำเป็นต้องทำการกวาซาทั้งตัว เพื่อปรับสมดุลย์ทั่วทั้งร่างกาย เพื่อกระตุ้นให้เลือดลมหมุนเวียนไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายได้ดีขึ้น ส่งผลให้อาการปวดตึงลดลงถึง50% หลังการกวาซา ควรทำกวาซา 5-12 ครั้งแล้วแต่อาการ โดยต้องทำร่วมกับการปรับพฤติกรรมการยืน นั่ง ทำงานให้ถูกต้อง เพื่อปรับโครงสร้างของกระดูกสันหลังให้เป็นปกติได้มากที่สุด

     



    
















    

Case : ปวดหลัง ปวดเอว จากใช้Ipadเป็นเวลานาน/การนั่งทำงานนานเกินไป

ฝั่งซ้าย: ลักษณะของสีแดงบนผิว เรียกว่า "ซา"  คือของเสียและพิษที่ถูกขับออกมาด้วยการกัวซา
ฝั่งขวา: ลักษณะผิวหนังและกล้ามเนื้อก่อนทำการกัวซา


หลักในการกวาซา                 
คือ ควรเน้นการกวาซาที่หลังก่อน 1 ชั่วโมง เพื่อกระตุ้นระบบปลายประสาทที่กระดูกสันหลังและ แนวหมอนรองกระดูก เป็นการกระตุ้นจุดสัญญาณต่างๆให้เกิดการรับรู้และทำงานตามปกติ การขูดเน้นที่หลังจะช่วยทำให้กวาซาทุกจุดได้อย่างทั่วถึง สามารถขูดเน้นที่พังพืดและกล้ามเนื้อที่แข็งเกร็งให้เกิดการคลายตัวได้อย่างอ่อนโยนโดยไม่เจ็บและทรมาน

                   หลังจากนั้นจึงทำการทั่วทั้งตัวที่เหลือ โดยเน้นจุดที่พบปัญหาเป็นพิเศษ เพื่อทำการขับพิษที่ตกค้างตามกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ผลที่ได้คือการรักษาแบบองค์รวมทั่วทั้งตัว 
ระยะเวลาในการรักษา
                   ขึ้นอยู่กับวินัยในการปรับพฤติกรรมของผู้ป่วย ในรายปกติหากได้รับการกวาซาอาทิตย์ละครั้ง อย่างต่อเนื่อง5-12 ครั้ง  และมีการปรับพฤติกรรมของผู้ป่วยอย่างถูกต้อง สามารถทำให้หายจากอาการปวดหลังได้แน่นอน

การบริหารกล้ามเนื้อแก้ปวดหลังคอบ่าไหล่
นอกการทำกวาซาแล้ว ผู้ป่วยต้องทำการบริหารกล้ามเนื้ออยุ่เป็นประจำเพื่อป้องกันการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ ซึ่งอาจจะกลับมาเป็นซ้ำได้อีกหากไม่ได้รับการกวาซาอย่างต่อเนื่อง









1 comment:

Anonymous said...
This comment has been removed by a blog administrator.